ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2519 อาจารย์ผู้สนใจงานวัฒนธรรมได้ก่อตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมบ้านเรา ขึ้น
พ.ศ. 2520 กรมการศาสนาได้รับศูนย์วัฒนธรรมบ้านเราเป็น หน่วยประเคราะห์ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
พ.ศ. 2523 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะเป็นศูนย์วัฒนธรรมประจำจังหวัด ชื่อว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม
พ.ศ. 2534 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2538 เปลี่ยนเป็นศูนย์วัฒนธรรมสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปวัฒนธรรม มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับคณะตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
มีบทบาทสำคัญในการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริม พัฒนาและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ตามภารกิจหนึ่งในหกด้านของสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ วันที่ 15 มิถุนายน สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ
พ.ศ. 2547 เพื่อให้เป็นไปตามโครงสร้างใหม่ สำนักศิลปวัฒนธรรม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ตามกฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการ
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2548 มีฐานะเทียบเท่ากับคณะ มีหน่วยงานระดับกอง 1 หน่วยงาน
คือสำนักงานผู้อำนวยการ โดยที่ยังคงดำเนินงานตามพันธกิจ 3 ประการหลัก คือ งานศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ งานเกี่ยวกับศาสนาในภาคใต้ และงานพุทธทาสศึกษา
ปัจจุบันสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่อาคารหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี เลขที่ 272 หมู่ที่ 9 ถนนสุราษฎร์-นาสาร
ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100 โทรศัพท์ 077-913354 077-913355 เว็บไซด์ https://www.culture.sru.ac.th
หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ก่อตั้งขึ้นมาด้วยความตระหนักในภารกิจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่พิจารณาว่าถึงเวลาแล้วที่พวกเราทั้งหลายผู้เป็นทายาทในการ
สืบทอดมรดกแห่งอุดมการณ์ของท่านพุทธทาส จะได้มาช่วยกันเจริญรอยตามกระบวนการสร้างสันติสุขแห่งชีวิตและสันติภาพในสังคมอย่างแท้จริง
การดำเนินการก่อสร้างหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ผู้มีกุศลเจตนาประสงค์ที่จะดำเนินงานร่วมกัน ประกอบด้วยผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะกรรมการวิทยาลัย คณะอาจารย์วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ศิษย์เก่าโรงเรียนพุทธนิคม ตลอดจนหัวหน้าหน่วยราชการ พ่อค้า คหบดี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จนได้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธทาสธรรมโฆษณ์ในปี
พ.ศ. 2534 ด้วยการระดมทุน การจัดกิจกรรมหาทุน เพื่อการก่อสร้างหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ หรือเพื่อสมทบทุนมูลนิธิในการดำเนินงานตามภารกิจของหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ ซึ่งรวมเป็นเงิน 1,300,000 บาท เป็นกองทุนเบื้องต้น
ในปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้างอาคารหอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ จำนวน 29,000,000 บาท (ยี่สิบเก้าล้านบาทถ้วน) เป็นอาคารที่มีค%