ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบของชาวภาคใต้
“งานบุญวันสารทเดือนสิบ” หรือ “ประเพณีชิงเปรต” เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน อันเนื่องมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่าในปลายเดือนสิบ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปตกนรกอยู่ ซึ่งเรียกว่า “เปรต” จะได้รับการปล่อยตัวจากพญายมให้ขึ้นมาพบลูกหลาน และญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และให้กลับไปอยู่เมืองนรกดังเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวบ้านจึงจัดให้มีการทำบุญเป็นประเพณีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ครั้งหนึ่ง เรียกว่า “งานทำบุญรับตายาย” กับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “งานทำบุญส่งตายาย” เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง ตลอดจนบุคคลอื่นๆ ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นสำคัญ
“การทำบุญสารทเดือนสิบ” เป็นการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติที่มีต่อบุรพชน อันเป็นค่านิยมที่สำคัญยิ่งของชาวใต้และของคนไทยทั่วไป ชาวภาคใต้จึงรู้สึกว่า งานบุญนี้มีความสำคัญยิ่ง
เมื่อใกล้ถึงวันทำบุญ ทุกครอบครัวต่างก็เตรียมข้าวของอุปกรณ์การทำบุญ ผู้ไปอยู่ที่อื่นทั้งใกล้และไกลก็เริ่มกลับสู่ถิ่นใต้ภูมิลำเนาของตน เพื่อร่วมงานประเพณีโดยทั่วหน้ากัน การทำบุญเดือนสิบจึงเป็นงานชุมนุมของเครือญาติได้อีกทางหนึ่งด้วย
ประเพณีทำบุญนี้บางถิ่นเรียกว่า “ประเพณีทำบุญเดือน ๑๐” บางถิ่นเรียกว่า “ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบ” บางถิ่นเรียกว่า “ประเพณียกหฺมฺรับ” บางถิ่นเรียกว่า “ประเพณีชิงเปรต” บางถิ่นเรียกว่า “ประเพณีทำบุญตายาย หรือประเพณีรับส่งตายาย” ทั้งหมดมีความหมายเดียวกัน คือ การทำบุญวันสารทเดือนสิบ
เพื่ออุทิศผลบุญให้แก่บรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว
ความเป็นมาของการทำบุญวันสารท
คำว่า “สารท” มาจากคำว่า “สรท” ในภาษาบาลี ตรงกับคำว่า “ศารท” ในกาษาสันสกฤต ใช้เรียกชื่อฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูที่พืชพรรณธัญญาหารในดินแดนเขตร้อน เช่น ประเทศอินเดียตอนเหนือ อุดมสมบูรณ์ประชาชนจึงแสดงความยินดีาว่า “สารท” จึงแปลว่า “กาลเป็นที่ยินดีของประชาชน” คำว่า “ศารทธะ” เป็นคำเรียกประเพณีทำบุญของศาสนาพราหมณ์ เพื่ออุทิศผลญบุญให้แก่ญาติผู้วายชนม์ ดังที่พระมหากลีบ วรปญโญ กล่าวใว้ในเรื่องทำบุญวันสารทเพื่ออะไร ปรากฎข้อความตอนหนึ่งว่า “พวกพราหมณ์มีธรรมเนียมการเซ่นและทำทักษิณาอุทิศผลบุญแก่บุรพชนของเขาเรียกว่า “คารทธะ” เนื่องในการเผาศพบ้าง ในวันครบรอบวันตาษของบิดามารดา หรือ บุรพชนบ้าง ซึ่งมี ๓ ชั้น คือ บิดา ปู่ ทวด เมื่อทำทักษิณาแล้วก็กรวดน้ำไปให้ การกรวดน้ำของเขานั้น เขาลงในแม่น้ำ เอามือกอบน้ำขึ้นแล้วค่อยๆ ปล่อยให้รั่วลง นึกถึงอุทิศถึงผู้ตายไปพลางว่า ขอให้น้ำนี้ระงับความกระหายของคนนั้นๆ (ออกนาม) ส่วนอาหารที่เซ่นแล้วนำไปโยนให้สัตว์ต่างๆ มี กา เป็นต้น” คำว่า สารท (ศราทธะ) ในที่นี้แปลว่า “กาลเป็นที่ยินดีของวิญญาณ”
คติความเชื่อเรื่อง “เปรต” ได้ฝังลึกในความรู้สึกของชาวพุทธภาคใต้ว่า เปรตมีรูปร่างต่าง ๆ ตามอานิสงส์ผลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ในโลกมนุษย์บันดาลให้เป็นไป เช่น เปรตรูปร่างสูงใหญ่เท่าต้นตาล เปรตที่ผอมโซ เปรตที่คอยาว เปรตที่ท้องโตแต่ปากเท่ารูเข็ม เปรตหัวโต เปรตเหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานจากการกระทำโทษของยมบาลในนรก และได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความอดยาก เนื่องจากเปรตเหล่านี้ต้องอาศัยอาหารที่ญาติในโลกมนุษย์ทำบุญอุทิศส่งไปให้เท่านั้น แต่ใน มงฺคลตฺถทีปนี เล่มที่ 1 ข้อที่ 349 ได้กล่าวถึงเปรตชนที่สามารถรับอานิสงส์ผลบุญจากญาติพี่น้องในมนุษย์โลกว่า เฉพาะ “ปรทัตตูปชีวิตเปรต” เท่านั้น
ที่สามารถรับอานิสงส์ผลบุญที่ผู้อื่นอุทิศส่งไปให้ การทำกุศลอุทิศผลบุญให้แก่เปรตชนดังกล่าวนี้
ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ปุพพเปตพลี”
“ปุพเปตพลี” เป็นพิธีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งผู้ทำบุญมีจิตกตัญญูหวังจะตอบแทนคุณผู้ที่เคยให้ความอุปการะแก่ตนด้วยตั้งใจว่า ถ้าบรรพชนมีบุญกุศลที่ตนทำไว้ในโลกมนุษย์ เมื่อตายไปถือกำเนิดเสวยสุขในสวรรค์ ก็จะได้มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้น แต่ถ้าบรรพชนได้ทำกรรมชั่วไว้ในโลกมนุษย์เมื่อตายไปถือกำเนิดในนรกได้รับความทุกข์ทรมาน และอดอาหาร ขอให้พ้นทุกข์ด้วยการรับอานิสงส์ผลบุญที่หมู่ญาติพี่น้องได้อุทิศส่งไปให้ในการทำบุญปุพพเปตพลีครั้งนี้
คำว่า “ปุพพเปตพลี” เป็นภาษาบาลี แปลว่า เครื่องบวงสรวงแก่ผู้ที่ละไปก่อนแล้ว ส่วนภาษาสันสกฤตเรียกว่า “ปูรฺวเปฺรตพลี” ซึ่งแปลเหมือนกัน ฉะนั้น คำว่า “เปต” ที่เป็นภาษาบาลี กับ คำว่า “เปฺรต” ที่เป็นภาษาสันสกฤต จึงมีความหมายเหมือนกัน คือ เปรต ในภาษาไทย หมายถึง ผู้ที่ตายจากโลกนี้ไปแล้ว
แต่คำว่า “พลี” มีความหมายว่า เครื่องบวงสรวง เครื่องบูชา หรือเครื่องที่มอบให้ด้วยความเคารพ
ดังหลักพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงหลักพลีไว้ ๕ ประการ ได้แก่
๑. ญาติพลี (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องบูชาที่มอบให้ญาติ) หมายถึง การสงเคราะห์ญาติ
๒. อติถิพลี (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องบูชาที่มอบให้แขก) หมายถึง การต้อนรับแขก
๓. ปุพพเปตพลี (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องบวงสรวงแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว) หมายถึง การทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
๔. ราชพลี (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องบูชาพระราชา) หมายถึง การถวายเป็นของหลวง หรือ บำรุงราชการ
๕. เทวตาพลี (ตามศัพท์แปลว่า เครื่องบวงสรวงเทวดา) หมายถึง การทำบุญอุทิศให้เทวดา
“ปุพพเปตพลี” เป็นบุญวิธีของชาวอินเดียสมัยพุทธกาล ดังปรากฏหลักฐานในพุทธประวัติเล่ม ๒ ตอนมัชฌิมโพธิกาล ปริจเฉทที่ ๙ ว่าเกิดขึ้นตามมูลเหตุที่พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เกิดความสงสัยว่า บรรดาญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว มีความเป็นอยู่อย่างไรหนอ จึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงอธิบายถึงญาติผู้ได้ทำบุญกุศลไว้ในโลกมนุษย์ เมื่อตายได้ไปถือกำเนิดเป็นเทพเสวยทิพย์สมบัติในสวรรค์ ส่วนญาติที่ไม่ได้สร้างกุศลไว้ในโลกมนุษย์ เมื่อตายได้ไปถือกำเนิดเป็นเปรตในนรก เปรตชนเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานและได้รับความอดอยาก ยมบาลจะปลดปล่อยให้ขึ้นมาสู่มนุษย์โลก เพื่อรับอานิสงส์ผลบุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ในช่วงเวลาเทศกาลศราทเดือนสิบ เมื่อได้รับผลบุญจะทำให้สภาพความเป็นอยู่ของเปรตชนเหล่านั้นดีขึ้น พระเจ้าพิมพิสารจึงชักชวนญาติและบริวารไปทำบุญในช่วงเวลาศราทเดือนสิบจนกลายเป็นต้นแบบบุญวิธีปุพพเปตพลีจนถึงปัจจุบัน
จากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า ประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่เรารับอิทธิพลมาจากอินเดีย ทั้งจากวิธีปฏิบัติเนื่องในฤดูสารทของชาวอินเดีย ประเพณีศารทธะของพราหมณ์ และพิธี
บุพพเปตพลีของพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งมีลักษณะสอดคล้องกันทั้งในด้านความมุ่งหมาย และวิถีปฏิบัติตามหลักประเพณีของชาวใต้ จึงเป็นไปได้ว่า ชาวใต้รับประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบจากพราหมณ์อินเดียมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะผมกับพระพุทธศาสนาและสังคมวิถีชีวิตชาวใต้จนทุกวันนี้
พิธีกรรมประเพณีทำบุญสารทเดือนสิบ
วันแรม ๑๓ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำและแรม ๑ ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ เป็นช่วงที่ชาวใต้ผู้นับถือพระพุทธศาสนา และมีศรัทธาความชื่อในการทำบุญวันสารท ต่างมีความกระตือรือร้นเตรียมอุปกรณ์การประกอบพิธีกรรม
วันสารทตามขั้นตอนดังนี้
๑. แต่ละบ้าน ต่างเตรียมการจัดหาข้าวของและเครื่องใช้ต่างๆ เพื่อจัด “หฺมฺรับ” ซึ่งมีทั้งจัดทำกันเองในครอบครัวและหาซื้อจากตลาดที่พ่อค้าแม่ค้านำมาจำหน่าย คล้ายกับวันจ่ายของตรุษจีน
๒. จัด “หฺมฺรับ” ส่วนใหญ่จะจัดในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เดิมใช้กรบุงทรงเตี้ยสานด้วยตอกไม้ไผ่ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ตามความต้องการของผู้จัด ต่อมาได้ใช้ภาชนะตามแต่จะสะดวก เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง กระเชอ เป็นต้น เป็นภาชนะรองรับสิ่งของที่จัดเป็น “ชุดหมรับ” ซึ่งมีทั้งข้าวสาร หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงรสอาหารที่จำเป็น รวมทั้งปลาและผลไม้อื่นๆ เช่น ปลาเค็ม ผัก ผลไม้ ฟัก มัน กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมัน ไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กระทะ ถ้วย ชาม เข็ม ด้ายหมากพลู ปูน การบูร พิมเสน สีเสียด ยาเส้น ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน ปัจจุบันได้ลดจำนวนเครื่องใช้ลงคงเหลือเท่าที่จำเป็น และที่ขาดมิได้คือขนม ๕ อย่าง ได้แก่
๑) ขนมลาตามคติใบราณเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องห่ม
๒) ขนมพอง ตามคติโบราณเชื่อว่าเป็นสัญลักณ์แทนแพ สำหรับให้ผู้ล่วงลับอาศัยข้ามมหรรณพตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
๓) ขนมกง (ขนมไข่ปลา) ตามคติโบราณเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
๔) ขนมดีชำ ตามคติโบราณเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
๕) ขนมบ้า ตามคดีใบราณเชื่อว่า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้าให้วิญญาณได้เล่นในวันสงกรานต์
๓. การ “ยกหฺมฺรับ” ได้เปลี่ยนไปตามกาลยุคสมัย ปัจจุบันการยกหฺมฺรับไปวัดและตั้งเปรตจะมีในวันแรม ๑๔ ค่ำ ครั้นวันแรม ๑๕ ค่ำ จึงทำบุญอุทิศกุศลให้บรรพชนยิ่งกว่านั้น บางท้องถิ่นได้รวบรัดพิธีการให้เหลือวันเดียว คือ วันแรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งมีทั้งยกหฺมฺรับ ตั้งเปรต ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุ และอุทิศส่วนดุลให้แก่บรรพชน
๔. การตั้งเปรต เมื่อยกหฺมฺรับ และถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์แล้วจึงตั้งเปรต แต่เดิมจะนำอาหารส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามที่ต่างๆ ตรงทางเข้าวัดบ้าง ริมกำแพงวัดบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ต่อมาได้สร้างนั่งร้านขึ้นสูงพอควร เรียกว่า หลาเปรต บางถิ่นเรียกว่า ร้านเปรต แล้วนำอาหาร และขนมต่างๆ ที่จัดไว้ไปวางบนร้านเปรต แล้วนำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จับสาดบังสุกุลโรงมาที่ร้านเปรต เมื่อพระสงฆ์ทำเสร็จก็ดึงสายสิญจน์ออก เหล่าเด็กๆ ทั้งหนุ่มสาวก็เข้ามาแย่งชิงอาหารที่ร้านดังกล่าว เรียกว่าชิงเปรต เนื่องจากเชื่อว่าของที่เหลือจากการเช่นไหว้บรรพบุรุษ ถ้าใครได้กินจะเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๕. การฉลองหฺมฺรับและบังสุกุล (จะมีเฉพาะบางท้องถิ่น) จะทำในวันแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า
“วันหลองหฺมฺรับ” จะมีการทำบุญเลี้ยงพระเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ชาวบ้านรียกว่า “วันส่งตายาย” เพราะเป็นวันสุดท้ายที่เปรตทั้งหลายได้รับอนุญาตให้ขึ้นมารับส่วนบุญจากลูกหลาน เมื่อสิ้นเวลาที่กำหนด ยมบาลก็ต้องนำกลับไปสู่นรกตามเดิม ถ้าลูกหลานทำบุญให้ก็จะได้ชื่อว่า มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ถ้าไม่มีลูกหลานมาทำบุญ ก็จะได้รับการแช่งจากบรรพบุรุษว่า เป็นคนอกตัญญู
แหล่งอ้างอิง
ณัฐา วิพลชัย และชะเอม แก้วคล้าย. (2559). วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ พญาพิมพิสาร.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.