ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่มหรสพงานถวายดอกไม้จันทน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับศิลปินพื้นบ้าน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดแสดงหนังตะลุง มโนราห์ ในการจัดแสดงมหรสพในพิธีถวายดอกไม้จันทน์พระราชเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร รับสั่งให้ศิลปินพื้นบ้านอนุรักษ์และเผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีคุณค่าเพราะทรงเห็นว่าศิลปวัฒนธรรม นั้น คือ งานสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญา และทางจิตใจ เป็นทั้งต้นเหตุของความเจริญอื่นๆ ทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เรารักษาและดำรงความเป็นไทย ได้สืบไปศิลปะพื้นบ้านภาคใต้”หนังตะลุง”และ”มโนรา” เป็นศิลปวัฒนธรรมที่พระองค์มีรับสั่งด้วยความห่วงใย ให้รักษาของเก่าไว้ และทำให้ได้ดีเพราะศิลปะพื้นบ้านมีประโยชน์กับประเทศชาติมาก ทั้งยังรับสั่งแก่ศิลปินพื้นบ้านไม่ให้หวงวิชา ให้ถ่ายทอดความรู้ นำความรู้ไปประกอบอาชีพและถ่ายทอดให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง พระกระแสรับสั่งที่ทรงตรัสต่อนายหนัง และมโนราห์นี้จึงเป็นแรงผลักดันให้ศิลปินทั้งหลายตั้งใจสานต่อการทำความดีอุทิศตนเพื่ออนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านสืบสานให้คงอยู่ต่อไป

ในวาระที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้รับมอบหมายให้ดูแลฝ่ายมหรสพในพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ในพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ จึงได้รวบรวมศิลปินมโนราห์ หนังตะลุง ที่มีจิตอาสาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเยาวชนอาสา ที่มีความรักและสนใจศิลปะพื้นบ้านมโนราห์รวม 99 คน และหนังตะลุงอีก 9 โรง มาร่วมแสดงในครั้งนี้

หนังตะลุง และมโนราห์ เป็น ศิลปะการแสดงที่แพร่หลายในท้องถิ่นของภาคใต้ แสดงทั้งในงานบุญ งานศพ หนังตะลุงเป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ “ว่าบท” มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด สำหรับการแสดงหนังตะลุงส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยครั้งนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับหนังเทพศิลป์ หนังศรีโต ศ.ศรีพัฒน์ ชมรมเมล็ดพันธุ์บันเทิง ชมรมสืบศิลป์ถิ่นใต้ และนักศึกษาราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกัน เขียนบท และจัดแสดงร่วมกันด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ส่วนโนราหรือมโนราห์ เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานาน และนิยมกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีการแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม

โนรา เกิด ขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำ เรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มาจากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย

สำหรับการแสดงมโนราห์ในวันนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโนราห์อาชีพในท้องถิ่น ครู อาจารย์ เยาวชน รวม 99 คน จากสถาบันต่างๆ ดังนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
โรงเรียนสุราษฎร์ธานี
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
โรงเรียนพุนพินพิทยาคม
โนราชาตรีพระแสงศิลป์
โนราเจษฎาประธานชมรมชมรมโนราสุราษฎร์ธานีและคณะในชมรมครบครัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า