อบรมเพลงต้นแบบจากคำสอนหรือบทประพันธ์ของท่านพุทธทาส

วันนี้ (๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเพลงต้นแบบจากคำสอน-บทประพันธ์ท่านพุทธทาส (อบรมปี่พาทย์ เครื่องประกอบจังหวะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสืบสานปณิธานท่านพุทธทาส  จัดอบรมให้แก่ นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออนไซต์ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

      อาจารย์ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักฯ ได้กล่าวถึงโครงการในครั้งนี้ว่า “การอบรมเชิงปฏิบัติการในวันนี้นั้นเป็นการอบรมดนตรีไทยแต่ละประเภทเพื่อให้ผู้เล่นมีความชำนาญ ก่อนจะนำไปสู่การบรรเลงต้นแบบที่ดัดแปลงมาจากคำสอนหรือบทประพันธ์ของท่านพุทธทาส”

      สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้กำหนดให้โครงการสืบสานปณิธานท่านพุทธทาสเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของการดำเนินการของสำนัก โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ นี้ ได้เตรียมกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสร้างเพลงต้นแบบจากคำสอน-บทประพันธ์ท่านพุทธทาส กิจกรรมประกวดดนตรี รวมไปถึงกิจกรรมประกวดภาพถ่ายและภาพวาดจากคำสอน-บทประพันธ์ท่านพุทธทาส ซึ่งเมื่อดำเนินแล้วเสร็จทุกกิจกรรมในโครงการ ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับคือ องค์ความรู้เกี่ยวกับท่านพุทธทาส อันจะเกิดประโยชน์และตอบโจทย์พันธกิจทั้งของสำนักฯ และมหาวิทยาลัยอีกด้วย

        กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเพลงต้นแบบจากคำสอน-บทประพันธ์ท่านพุทธทาสจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ ซึ่งจะมี อาจารย์กรรณธวัช แก้วอ่อน อดีตแชมป์ระนาดรายการคุณพระช่วย ๗ สมัย ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย สังกัดสำนักการสังคีต กรมศิลปากร อาจารย์พัฒนี พร้อมสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องดนตรีไทย สังกัดสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชวิช  มุสิการุณ อาจารย์หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาเป็นวิทยากรตลอดโครงการ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า