ยกระดับหนังตะลุงมุ่งพัฒนาสู่นวัตกรรมการเรียนรู้ยุคการศึกษาไทย 4.0
หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นภาคใต้หนังตะลุงเป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายมาเป็นเวลานาน แสดงได้ทั้งในงานบุญและงานศพในงานเฉลิมฉลองที่สำคัญจึงมักมีหนังตะลุงมาแสดงให้ชมด้วยเสมอหนังตะลุง เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่า การ “ว่าบท” มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดง เองทั้งหมด
หนังตะลุงเป็นนวัตกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับหลักการทางฟิสิกส์ เนื่องจาก แสง ในการแสดงหนังตะลุงต้องใช้แสงในการกระทบกับฉาก เพื่อให้เกิดเงาของหนังตะลุงเป็นภาพที่มองเห็นด้วยตามมนุษย์เกิดการรับรู้ สัมผัสได้ สี การรับรู้สีนั้นเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่มีผลต่อความทรงจำระยะยาว การใช้สีกับตัวหนังตะลุงทำให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ชัดเจน สะท้อนความรู้สึกและเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ ทำให้เรารับรู้และจำแนกได้ เสียงในการแสดงหนังตะลุง ทำให้ได้อรรถรสในการชมและรับฟังรับรู้เข้าใจยิ่งขึ้น เงา เป็นพื้นที่ซึ่งแสงจากแหล่งกำเนิดแสงถูกวัตถุหนึ่งบัง เป็นภาพสองมิติ หรือภาพย้อนกลับของวัตถุบังแสง ในการแสดงหนังตะลุง การเกิดเงาถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้องนำหนังตะลุงมาทาบกับฉากเพื่อให้เกิดเงาสะท้อนเป็นภาพที่เห็น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักคุณค่าและเห็นความสำคัญในการเชิดชูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่นการอบรมและเผยแพร่หนังตะลุง โดยเฉพาะการบูรณาการหนังตุลงกับการเรียนการสอนที่เป็นมากกว่า การให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาแก่นักศึกษา ผู้สนใจ เพราะศิลปะ ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังเป็นเครื่องจรรโลงความดีงามในการดำรงชีวิต และสร้างความร่วมมือสร้างความเข้มแข็งในชุนชนอย่างดียิ่ง
อาจารย์อนุรัตน์ แพนสกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง การใช้หนังตะลุงเพื่อพัฒนานวัตกรรมสู่การเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนอีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่คาดว่าผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนการสอน เกิดความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ช่วยให้เกิดการประหยัดลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอนต่อการเข้าใจ จึงได้นิทรรศการ สาธิต และนำเสนอการใช้หนังตะลุงเพื่อพัฒนานวัตกรรม สู่การเรียนรู้ดังกล่าวมุ่งสร้างความรู้เกี่ยวกับบทบาทของครูในการใช้ศิลปวัฒนธรรมบูรณาการกับเรียนรู้ การเรียนการสอน นำเสนอการเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาประเทศไทย ๔.๐ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ร่วมกับมูลนิธิเพชรราชาและบริษัทอักษรเจริญทัศน์ โดยเฉพาะได้นำสื่อตัวอย่างในการใช้หนังตะลุงในการเรียนการสอนวิชากายวิภาคและสีรรวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดย นางสาวณัฏฐนิชา นาคเดช และนางสาวนาซีเราะฮ์ ดอเลาะ อีกทั้งอธิบายความรู้และสาธิตการแสดงหนังตะลุง โดยนายปุณณมา
ทองดีเพ็ง ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดกรุงเทพมหานคร
การแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ยกระดับเยาวชนโดยขับเคลื่อนการศึกษาไทย ๔.๐ ครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมงานมากกว่า ๕๐๐ คน ได้รับความรู้ความเข้าใจ ได้นำแนวทางในการใช้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ และรองรับการประเมนคุณภาพสถานศึกษาได้ต่อไป