ห้องนิทรรศการ
ตะกร้าสานย่านลิเภา
ชื่อ : ตะกร้าสานย่านลิเภา จำนวน : 4 ชิ้น
ลักษณะ : มีรูปร่างและขนาดตลอดจนลวดลายในการสานแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่น
วิธีการทำ :
1. นำไม้ไผ่และหวายมาจักเป็นเส้นตอกบาง ๆ ขนานเท่า ๆ กัน
- นำไม้ไผ่มาผ่าเป็นชิ้นบาง ๆ เพื่อดัดเป็นโครงตะกร้ารูปแบบต่าง ๆ เช่น กลม รีเหลี่ยม ทรงสูง ทรงเตี้ยตามความต้องการ
- นำเส้นตอกมาย้อมสีต่าง ๆ ตามต้องการแล้วผึ่งให้แห้ง
- นำเส้นตอกมาถักเป็นลาย เช่น ลายพิกุล จนได้ขนานและความยาวตามโครงการตะกร้าที่ทำไว้
- นำแผ่นตอกที่ถักเป็นลวดลายแล้วนั้นมาประกอบเข้ากับโครงไม้
- นำเส้นหวายมาถักตกแต่งขอบตะกร้าด้านบน ด้านล่างและหูตะกร้าให้เรียบร้อยสวยงาม วิธีการทำเช่นนี้เรียกว่า จูงนาง
การใช้ประโยชน์ : ใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นตะกร้าหมากหรือเชี่ยนหมาก ใช้ใส่อาหารไปทำบุญที่วัด ใช้เป็นตะกร้าสำหรับใส่ของติดตัวเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ จึงมักจะสานอย่างประณีตงดงามเป็นพิเศษ แต่ถ้าเป็นตะกร้าผลละไม้ของชาวสวนแถบจังหวัดนนทบุรี ฉะเชิงเทรา จะมีลักษณะแข็งแรงและสานหยาบ ๆ