ข้อง กรงต่อนกคุ่ม (ถิ่นใต้)

ชื่อ : ข้อง กรงต่อนกคุ่ม    (ถิ่นใต้)

ลักษณะ  :

กรงดักนกคุ่มของภาคใต้ มีลักษณะคล้ายเพนียดต่อนกเขา  แต่มีขนาดเล็กกว่า สานด้วยไม้ไผ่คลุ้ม หรือ ย่านลิเภา  รูปร่างคล้ายลูกฟักที่ตัดครึ่งลูกผ่าซีก กว้างประมาณ ๗-๘ นิ้ว ลึกประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๖ นิ้ว กรงที่ใช้ขังนกต่อมักสานถี่ๆ ยาด้วยชัน เพื่อไม่ให้นกป่ามองเห็นนกต่อ ด้านหน้ามีประตูปิด-เปิดได้สำหรับสานกต่อ และมีประตูอีกชั้นหนึ่งคลุมด้วยตาข่ายเพื่อใช้ตะปนนกป่าที่เข้ามาหานกต่อ ประตูทั้งสองมีเสาประตูเป็นซี่ไม้กลมๆ สองข้างทั้งสองประตู และมีเหล็กกลมสวมไว้ ข้างละห่วง ด้านบนมีเชือกคล้องแทนบานพับ ประตูตาข่ายจะเปิดดั้งฉากกับพื้นโดยเลื่อนห่วงสองอันไว้ที่หัวกรง ห่วงนี้จะเลื่อนลงมาเมื่อประตูปิด ขณะที่นกชนซี่เล็กๆ ซึ่งค้ำประตูตาข่ายให้เปิดอยู่ และจะปิดขังนกป่าไว้ เมื่อนกป่าสะดุดไม้ค้ำประตู

การดักนกคุ่มต้องดักในบริเวณพุ่มไม้โล่ง หันหลังกรงเข้าพุ่มไม้ หันด้านหน้าออก เปิดประตูตาข่ายไว้ คนต่อนกนั่งซุ่มคอยอยู่ไกลๆ ทำเสียงร้องเลียนเสียงนกให้นกต่อขัน เมื่อนกป่าได้ยินเสียงนกต่อจะเข้ามาหาหรือต่อสู้กัน ก็จะถูกประตูตาข่ายตะปบไว้ คนต่อนกจะจับนกได้การต่อนกคุ่มมักต่อในฤดูผสมพันธ์ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม กรงต่อนกคุ่มบางถิ่นแกะสลักหน้ากรงเป็นลวดลายอย่างสวยงาม

 

ที่มา : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (๒๕๔๖).พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน. หน้า ๘.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า