ประเพณีลอยกระทง

อนึ่งการลอยพระประทีปนั้น แต่เดิมมาข้าราชการซึ่งเข้ามาเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง สิ้นเวลาแล้วก็ต่างคนต่างกลับไปบ้าน อยู่แต่ที่ต้องประจำข้าราชการในหน้าที่ แต่ครั้นเมื่อปีมีกระทงใหญ่ท่านเสนาบดีผู้ซึ่งถูกเกณฑ์กระทง ซึ่งหรือเหวกระทงของตัวลงไปคอยรับเสด็จอยู่ที่หลังตำหนักแพ ครั้นเมื่อเสด็จพระราดำเนินลงไปถึงที่นั้นก็ได้ทรงทักทาย เวลาเสด็จขึ้นก็พระ-ราชทานส่วนพระราชกุศลและชมเชยกระทงต่างๆ บ้าง ครั้นภายหลังมาถึงว่าการที่เกณฑ์กระทงใหญ่นั้นเลิกแล้ว ท่านผู้ใหญ่ทั้งปวงก็ปรึกษากัน เห็นว่าการซึ่งข้าราชการตามเสด็จลงไปอยู่หลังตำหนักแพนั้นเป็นการสมควร ด้วยประเพณีจะเสด็จออกจากพระราชวังไปในที่แห่งใด มีเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมไข้ และพระราชทานเพลิงเป็นต้น ท่านเสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ต้องไปรับเสด็จพระราชดำเนินทุกแห่ง การลอยพระประทีปนี้เป็นเวลาเสด็จออกจากพระราชวังเวลากลางคืน ก็สมควรจะมีข้าราชการลงไปรักษาอยู่ด้านหลังให้เป็นการมั่นคงแข็งแรงยิ่งกว่าเวลาอื่น เมื่อท่านผู้ใหญ่ปรึกษาพร้อมกันดังนี้แล้ว ก็ได้มาคอยเฝ้าประจำอยู่จนเวลาเสด็จขึ้นทุกวัน ทั้งเดือนสิบเอ็ดเดือนสิบสองจนตลอดอายุของท่านผู้ต้นปรึกษาทั้งปวงนั้น ครั้นตกมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเสนาบดีสำรับเก่ายังอยู่บ้างสำรับใหม่ก็ทำตามกันเป็นธรรมเนียมยั่งยืนมา ในฤดูเดือนสิบเอ็ดมักจะยังไม่ขาดฝน ข้าราชการที่มาคอยรับเสด็จต้องเปียกฝน จึงโปรดให้ต่อเฉลียงเป็นหลังคาเก๋งออกมาจากฉนวน เป็นที่สำหรับข้าราชการเฝ้า แต่เฉลียงนั้นเป็นอย่างเตี้ยๆ สำหรับหมอบ ครั้นแผ่นดินปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็นยืน ข้าราชการเข้าไปยืนในนั้นก็ไม่แลเห็นหน้า ครั้นเมื่อปีจอ อัฐศก กีดทางแห่ลงสรงจึงได้รื้อเสีย ยังหาได้ทำขึ้นใหม่ไม่ แต่ท่านเสนาบดีที่มาเฝ้าอยู่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ครั้นภายหลังลงมาเสด็จลงลอยพระประทีปดึกๆ หนักเข้าสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าเสนาบดีอยู่ในเวลานั้น นอนหัวค่ำเว้นไม่ได้ มาบ้างไม่มาบ้าง จนปลายๆ ลงมาพอเกิดเลิกธรรมเนียมเสนาบดีเข้าวัง ก็เลยหายสูญไปด้วยกันทั้งหมด คงมาอยู่แต่ปลัดทูลฉลองและข้าราชการที่หมั่นๆ เฝ้าประจำอยู่ จนตลอดมาถึงแผ่นดินปัจจุบันนี้(๑)

กำหนดที่หมายในการเสด็จลงลอยพระประทีป พอเสด็จพระราชดำเนินถึงเกย ก็ชักโคมสัญญาณขึ้นที่เสาธง เมื่อโคมขึ้นแล้วจึงประโคมพิณพาทย์กลองแขกและแตรวงทั่วกัน เมื่อเสด็จลงประทับในเรือบัลลังก์แล้วรออยู่จนเรือตำรวจออกจับทุ่น จึงได้เสด็จพระราชดำเนินออกประทับที่ชานเรือบัลลังก์พระเจ้าลูกเธอที่ทรงพระเยาว์บางองค์ออกประทับด้วย แต่มักใช้รัตตะคดรัดนั้นพระองค์ไว้กับเสาพนัก ข้างขวาเป็นที่สมเด็จพระบรมราชเทวี พระราชเทวีประทับจุดเทียนข้างตอนท้ายเรือกระทงข้างซ้าย ธรรมเนียมในแผ่นดินพระบาท-สมเด็จพระนั่งเกล้า มีพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งบ้างสองพระองค์บ้างคือกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพเป็นต้น ต่อนั้นไปเจ้าจอมอยู่งานที่เป็นคนโปรดผลัดเปลี่ยนกันอีก ๔ คน ครั้นมาถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า แต่แรกเจ้าจอมอยู่งานจุด แต่ครั้นเมื่อมีเหตุการณ์ถ้อยความขึ้น ก็เปลี่ยนเป็นพระเจ้าน้องนางเธอ พระเจ้าราชวงศ์เธอ จุดแล้วก็กลับเป็นเจ้าจอมอยู่งานบ้าง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ในแผ่นดินปัจจุบันนี้ พระเจ้าน้องนางเธอจุดเสมอตลอดมา คงอยู่อย่างเช่นเมื่อในปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอันใด เมื่อจุดเรือกระทงไปถึงเรือสำเภามาเป็นกำหนดจุดดอกไม้จึงทรงจุดดอกไม้ชนวน เมื่อเรือดอกไม้เห็นดอกไม้ชนวนที่บัลลังก์จึงได้จุดดอกไม้มีพุ่ม, กระถาง, ระทา, พุ่มตะไล, พะเนียงมะพร้าว, กรวด, พลุ, มะพร้าวและมีเรือทหารในจุดดอกไม้น้ำในทุ่นขั้นในไปกว่าจะเสด็จขึ้น ในเรือบัลลังก์มีดอกไม้น้ำถวายทรงจุดสองตะลุ่ม

………………………………………………………………..

(๑) ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงจัดสภาเสนาบดีแล้ว มีการประชุมเสนาบดีไม่ขาด ถึงไม่ใช่วันประชุมเสนาบดีต้องเข้ามาเฝ้าทุกวัน คราวมีราชการก็ต้องผลัดเปลี่ยนกัน หรือพร้อมกันนอนประจำในพระบรมมหาราชวัง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า